วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน 100 คะแนน

ขอให้เพื่อนๆ ครู ญาติ และ ผู้มีเกียรติทั้งหลาย ร่วมประเมินผลงาน โดยมีคะแนนเต็ม100คะแนน
ขอขอบคุณทุกท่าน

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คำอธิบาย



เมื่อต้มไขมันหรือน้ำมันกับสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) หรือโซเดียม ไฮดรอกไซด์                  (NaOH) ซึ่งเป็นเบส จะได้กลีเซอรอลกับเกลือของกรดไขมันหรือสบู่ เรียกปฏิกิริยาการเกิดสบู่ว่า สะปอนนิฟิเคชัน (sponification) ปฏิกิริยานี้จะไม่ผันกลับเหมือนในสภาวะกรด

ไขมัน (triglyceride) + NaOH = กลีเซอรอล + สบู่ (เกลือโซเดียมคาร์บอกซิเลต)

สบู่ที่ผลิตจากอุตสาหกรรมได้จากการต้มไขมันหรือน้ำมันกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ ให้ความร้อนโดยผ่านไอน้ำลงไปในสารผสมเป็นเวลา 12–24 ชั่วโมง จะเกิดปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชันได้กลีเซอรอลและเกลือของกรดไขมัน จากนั้นจึงเติม NaCl ลงไปเพื่อแยกสบู่ออกจากสารละลาย ทำสบู่ให้บริสุทธิ์ แล้วเติมกลิ่น สี แล้วทำให้เป็นก้อนต่อไป เช่น

Glycerylstearate + NaOH = glycerol + Sodium stearate

กระบวนการทำสบู่จะได้กลีเซอรอลเป็นผลพลอยได้ แยกออกจากสารละลายแล้วนำไป ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง พลาสติก และใช้เป็นสารรสหวานในอาหารหรือยา เนื่องจากกลีเซอรอลมีหมู่ไฮดรอกซิล ซึ่งเกิดพันธะไฮโดรเจนได้กับน้ำ จึงทำหน้าที่ป้องกันการระเหยของน้ำได้อย่างดี



คำอธิบาย




ไอโอดีน (อังกฤษ:Iodine) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 53 และสัญลักษณ์คือ I ไอโอดีน (เป็นคำในภาษากรีก Iodes, มีความหมายว่า "สีม่วง") เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ มีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต สมบัติทางเคมีของไอโอดีนมีความไวน้อยกว่าธาตุในกลุ่มฮาโลเจนด้วยกัน ไอโอดีนมีประโยชน์ในทางการแพทย์ การถ่ายภาพ และสีย้อมผ้า





คำอธิบาย


กรดไขมันอิ่มตัว คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดง


                                                                                 คำอธิบาย

กรดอะมิโน (อังกฤษ: amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha animo acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า α-คาร์บอน

เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเปปไทด์





ข้อสอบสารชีวโมเลกุล

http://www.vcharkarn.com/exam/index.php/set/794


http://202.44.68.33/library/exam/intro/class4.htm


http://school.obec.go.th/mclschool/6.2.2/L2.htm


http://www.proprofs.com/quiz-school/story.php?title=sasasasa_20


http://dek-d.com/board/view.php?id=1130600